อิสราเอล (ชนชาติที่เพระเจ้าทรงเลือกสรร) ตอนที่ 1ความ ขัดแย้งระหว่างอาหรับ-อิสราเอล เป็นความขัดแย้ง ระหว่างชนชาติสองชนชาติ และระหว่างอุดมการณ์สองอุดมการณ์ เป็นความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มผู้ถือศาสนาหนึ่ง กับกลุ่มผู้ถือศาสนาอีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งทั้งสองศาสนานั้น ค่อนข้างใกล้ชิดกัน ศาสดาของศาสนาหนึ่ง ก็เป็นศาสดาของอีกศาสนาหนึ่งด้วย อีกทั้งบรรพบุรุษของชนชาติทั้งสองนี้ เมื่อย้อนยุคไปจนถึงที่สุดก็เป็นคนๆ เดียวกัน แต่ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายนี้ กลับยาวนาน ยืดเยื้อไม่สิ้นสุด มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
เรื่องซึ่งปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ของศาสนา ที่สำคัญสองศาสนา คือ คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม (อาจรวมถึงศาสนายิว หรือยูดายด้วยก็ได้) ก็คือ อับราอัมผู้เป็นบิดาแห่งชาวยิว (ศาสดาท่านหนึ่งของศาสนาอิสลามด้วย) ท่านมีภริยาสองคน เชื้อสายของท่านจากภริยาคนแรก (นางซาราห์) คือลูกหลานของอิสอัค (หรือไอแซค) ต่อมาก็คือชนชาติยิวสิบสองเผ่านั่นเอง ตามพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนา-พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสัญญาไว้กับอับราฮัมว่า พระเจ้าจะทรงมอบดินแดนแห่งพันธะสัญญา คือดินแดนคานาอัน (ซึ่งต่อมาก็คือ ดินแดนปาเลสไตน์) ให้แก่ลูกหลานของท่านด้วย ส่วนคน เชื้อสายของภรรยาคนที่สองของท่าน (นางฮากา) คือลูกหลานของอิชมาเอลและลูกชายทั้งสิบสองคนของเขา ก็จะกลายเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ด้วย นั้นคือ ชนชาวอาหรับ
อับราฮัมจึงได้ไปอยู่ที่คานาอัน แต่เข้ากับชาวคานาอันไม่ได้ ส่วนอิสฮักบุตรชายและลูกหลานของท่านกลับเข้ากับชาวเมืองคานาอันได้ดี (คือชาวฟิลิสเตีย หรือปาเลสไตน์ในปัจจุบันนั่นเอง) หลังจากนั้นลูกชายของอิสฮักคนหนึ่งชื่อยาโคบ(ต่อมาพระเจ้าได้เปลี่ยนชื่อให้ เป็นอิสราเอล) และลูกหลานของท่านได้ย้ายไปอยู่ในประเทศอียิปต์โดยมีบุตรชายคนหนึ่งในสิบสอง คนได้เดินทางไปก่อนและได้เป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศอียิปต์ ลูกหลานของยาโคบหรืออิสราเอลได้อาศัยอยู่ที่นั้นนานอีก 400 ปี และได้มีจำนวนทวีมากขึ้นกลายเป็นชนชาติยิว ฟาโรห์ในสมัยต่อมาได้บังคับให้ชาวยิวเป็นทาสของตน และมีต่อมาอีกนานคือ ประมาณ 1400 ปี ก่อน ค.ศ. โมเสสผู้นำชาวยิว (ซึ่งชาวมุสลิมถึอว่าเป็นศาสดาอีกท่านหนึ่งด้วย) ได้รับคำสั่งจากพระผู้เป็นเจ้า ให้ไปช่วยชาวยิวให้หนีจาก น้ำมือของฟาห์โรอียิปต์ โดยพระองค์ทรงช่วยแหวกน้ำทะเลแดงให้ โมเสสจึงนำชาวยิวหนีจากอียิปต์เข้ามาในดินแดนคานาอัน (หรือปาเลสไตน์) ซึ่งมีชนเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว นี่คือ เรื่องราวที่ปรากฏอยู่ใน พระคัมภีร์ไบเบิลและกุรอาน ตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นั้น ดินแดนปาเลสไตน์ ตั้งอยู่แถบชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งรวมอิสราเอลปัจจุบันนี้ กับจอร์แดนและอียิปต์ด้วย ชาวฮิบรู (หรือยิว) ซึ่งเดิมเป็นพวกเร่ร่อน อยู่ในทะเลทรายปาเลสไตน์แถบแหลมซีนาย ยกข้ามจากดินแดนตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนมาในดินแดนปาเลสไตน์ (คานาอัน) ภายใต้ผู้นำซึ่งมีชื่อว่าโยชูวา (หรือโจชัว) ได้ยึดครองดินแดนและทำลายรูปเคารพที่มีการนับถือของคนในดินแดนนั้น (ซึ่งเคยเป็นอู่อารยธรรมหนึ่งในสี่แห่งของโลกเก่า) ส่วนใหญ่ชาวฮิบรู เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ใน หุบเขาอันสมบูรณ์ทางภาคเหนือ แล้วขยายมาในดินแดนของชาวฟิลิสเตียซึ่งอยู่ตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พระคัมภีร์ไบเบิลได้ กล่าวคือ ความเป็นปรปักษ์ระหว่างชาวฮิบรูกับชาวฟิลิสเตีย (คือชาวยิวกับปาเลสไตน์) ไว้ใน Book of Judge บทที่ 18
ต่อ มากษัตริย์เดวิด ได้ทำสงครามกับชาวฟิลิสเตียและรวบรวมดินแดนคานาอันทั้งหมดไว้ใต้อำนาจของ พระองค์ และได้สร้างอาณาจักรอิสราเอลขึ้นในที่ซึ่งเป็นประเทศจอร์แดนปัจจุบันนี้ และขยายดินแดนไปถึงแม่น้ำยูเฟรติส ในราว 1000 ปีก่อนค.ศ. ในรัชสมัยของกษัตริย์โซโลมอน โอรสของเดวิด ชาวยิวมีอำนาจสูงสุด แต่พอสิ้นชีวิตของกษัตริย์พระองค์นี้อาณาจักรฮิบรู ก็แตกแยก เพราะการทะเลาะเบาะแว้ง ในหมู่ชาวฮิบรูเองแยกเป็นส่วนอิสราเอลเหนือประกอบด้วยชาวฮีบรู 10 เผ่า และส่วนใต้ประกอบด้วยเผ่ายูดาห์และเบนจามิน หลังจากนั้นอาณาจักรอิสราเอลก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง ปล่อยให้ชนชาติอื่นเริ่มมีอิทธิพลขึ้นในดินแดนคานาอัน และชนชาติฮีบรูได้หมดอำนาจการครอบครองในดินแดนปาเลสไตน์ในปี 586 ก่อน ค.ศ. ภายใต้การโจมตีของอาณาจักรบาบิโลน
ปาเลสไตน์ หรือคานาอัน ถูกอาณาจักรบาบิโลนปกครอง ต่อมาคือ เปอร์เซีย กรีก โรมัน ประชาชนในดินแดนนี้ ได้รับความกดขี่ จนกระทั่งในช่วงสมัยของพระเยซู (หรืออิสลามได้เรียกว่าเป็นศาสดาเยซูหรืออีซา) ได้เข้ามาประกาศเรื่องราวแผ่นดินของพระเจ้าในแผ่นดินชนชาติอิสราเอล ซึ่งได้กลายเป็นชนชาติส่วนน้อยในดินแดนนั้น และมีชาวฮีบรูจำนวนมากยอมรับนับถือคริสต์ศาสนา และคนเหล่านั้นได้กระจัดกระจายออกไปประกาศเรื่องของพระเยซูและแผ่นดินของพระ เจ้าตามแถบ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ในบาบิโลเนีย (อิรัก) อียิปต์ ซีเรีย เอเชียน้อย กรีซและโรม ในปี ค.ศ.300 ชาวยิวจำนวนมาก อพยพไปจากปาเลสไตน์ เพราะถูกชาวโรมันรังควาน และสงครามศาสนาระหว่างชาวอิสลาม ตามประวัติศาสตร์ ที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า ชาวยิวได้ตั้งอาณาจักรอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์ สอดคล้องกับพระคัมภีร์ที่ได้ระบุว่าเป็นดินแดนแห่งพันธะสัญญาที่พระเจ้าได้ ประทานให้แก่ลูกหลานของอับราฮัมได้เป็นระยะเวลานับพันปี แต่ต่อมาเพราะการไม่เชื่อฟังพระเจ้าและความขัดแย้งระหว่างกันในชนชาติฮีบรู จึงได้ถูกทำให้กระจัดกระจายออกไปจากแผ่นดินพันธะสัญญา และกระจายไปอยู่ในประเทศต่างๆ ต่อมาด้วยความเชื่อที่ของชาวยิวที่ว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาว่าจะมอบดินแดนนี้ ให้แก่พวกเขา ได้กลายเป็นขบวนการทางการเมือง และอุดมการณ์ ซึ่งมีชื่อว่า ไซออนนิสม์ (ไซออน เป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่ง ในดินแดนปาเลสไตน์)
ดินแดนปาเลสไตน์นั้น ตั้งอยู่ในภูมิภาคซึ่งปัจจุบันนี้ เรียกว่า ตะวันออกกลาง หรือ เอเชียตะวันตก เมื่อศาสนาอิสลามเกิดขึ้น ในแหลมอารเบีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต่อมาได้ขยายไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ประชากรในภูมิภาคนั้น ต่างก็รับนับถือศาสนาอิสลาม (ซึ่งเรียกว่ามุสลิม=ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ชาวปาเลสไตน์ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น และศาสนาอิสลามยึดหลักความเป็นพี่น้องกัน ระหว่างชาวมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หากพี่น้องมุสลิม ณ ที่หนึ่งที่ใดได้รับความเจ็บปวด มุสลิมซึ่งอยู่ที่อื่น ก็ย่อมเจ็บปวดไปด้วย ชาวปาเลสไตน์นั้นเป็นชาวอาหรับมาตั้งแต่ต้น เดิมรับนับถือศาสนาคริสต์ แต่ได้รับการกดขี่จากชาวโรมัน จึงหันมารับนับถือศาสนาอิสลาม สังคมของชาวปาเลสไตน์ จึงมีลักษณะแบบอาหรับและมุสลิม นับเป็นครั้งแรก ที่มีชุมชนอาหรับที่แท้จริงเกิดขึ้น ในปาเลสไตน์ มีการปกครองของตนเอง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกอิสลาม ในด้านการเมืองและศาสนา
ต่อมาอาหรับ ได้เข้ามาปกครองปาเลสไตน์ ใน ค.ศ.640 โดยเคาะลีฟะฮอุมัรที่ 1 ต่อมา ปีค.ศ.847 ตุรกีเข้ามายึดอำนาจปกครองดินแดนนี้ จนถึงศตวรรษที่ 18 แต่ในศตวรรษที่ 18 อาณาจักรตุรกี (ออตโตมาน) เริ่มเสื่อมโทรม ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในยุโรปหมายจะเข้ามามีอำนาจแทนที่ตุรกี เช่น กษัตริย์นโปเลียนของฝรั่งเศส แต่ก็ตีปาเลสไตน์ไม่สำเร็จ กล่าวกันว่า ตอนที่นโปเลียนจะยาตราทัพเข้าซีเรีย (ซึ่งรวมกับปาเลสไตน์) นั้น พระองค์ได้เชื้อเชิญชาวยิว ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกามาอยู่ใต้การปกครอง ของพระองค์ เพื่อจะสร้างปาเลสไตน์ ให้เป็นอาณาจักรยิว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง
บทความนี้ได้นำบทความเดิมมาปรับปรุงเพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อความที่จารึกไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น