บาป 7 ประการ (Seven Deadly Sins)

บาป 7 ประการ (Seven Deadly Sins)
บาป 7 ประการ (Seven Deadly Sins)

เป็นหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ในอดีตกาล ให้มนุษย์ไม่ทำตามสัญชาตญาณของตนมากจนเกินไป ทางศาสนาคริสต์ได้แบ่งบาปออกเป็น 2 ประเภทคือแบบที่สามารถยกโทษให้ได้และ แบบรุนแรง ในต้นศตวรรษที่ 14 หลักคำสอนนี้เป็นที่นิยมในหมู่ศิลปิน (หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน) ผลงานศิลปะมากมายที่สื่อถึงบาป 7 ประการแพร่ไปทั่ววัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก


เรียงลำดับจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ตามคำสอนของสันตะปาปา เกรโกรี คริสต์ศักราชที่ 6


ราคะ (ภาษาลาติน : Luxuria ลุกซุเรีย : ภาษาอังกฤษ : Lust)
การคิดในทางเสื่อม ความต้องการเป็นที่สนใจจากผู้อื่น ความต้องการความเร้าใจ หมกมุ่นทางเพศที่มากจนเกินไปหรือที่ผิดมนุษย์ปกติ
ความใคร่ที่เกิดขึ้นในทางทุจริต เช่นการมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์กับพ่อแม่หรือลูกหลานตัวเอง การข่มขืน การมีชู้

asmodeus

แอสโมดิวส์ ปีศาจที่หลงรักมนุษย์หญิงสาวคนอื่น และฆ่าชายที่จะแต่งงานกับนางทุกคน เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้

สัญลักษณ์แห่งราคะคืองูหรือวัว สีประจำบาปนี้คือสีฟ้า บทลงโทษผู้กระทำบาปข้อนี้คือ ถูกรุมด้วยสารกำมะถันและไฟ

ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดราคะ คือ ความบริสุทธิ์ ความหวงแหนในพรหมจรรย์


ตะกละ (ภาษาลาติน : Gula กูลา : ภาษาอังกฤษ : Gluttony)
การ สนองความต้องการโดยไม่ยั้งคิด มุ่งร้ายเอาของคนอื่น บริโภคสิ่งต่าง ๆ จนขาดการไตร่ตรอง บริโภคจนมากเกินไป มากจนเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาร รวมถึงการบริโภคสิ่ง ๆ ต่าง ๆโดยไม่คำนึงสนใจหรือเห็นใจคนอื่น

beelzebub

บีลเซบับ เจ้าชายแห่งนรกหรือเจ้าแห่งหมู่แมลงวัน เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้

สัญลักษณ์ของตะกละคือหมู สีประจำบาปคือสีส้ม บทลงโทษของผู้ที่ตะกละในนรกคือการที่ถูกกินทั้งเป็นโดยหนู คางคกและงู

ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดตะกละ คือ ความพอดี การยับยั้งชั่งใจ



โลภ (ภาษาลาติน : Avaritia อวาริเทีย : ภาษาอังกฤษ : Greed/Avarice)
ความ ทะเยอทะยานอันแรงกล้าในการให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงแนวทางหรือคุณธรรมในการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมย การขู่กรรโชกทรัพย์ ยักยอก การกักเก็บทรัพย์สินต่างๆ โดยไม่แบ่งปันหรือช่วยเหลือผู้อื่น ต่อมาโลภรวมถึง การหาทรัพย์อย่างทุจริตมาใช้เพื่อประโยชน์ทางศาสนาด้วย ถือเป็นการมุ่งร้ายต่อศาสนาและเป็นการหักหลังต่อผู้นับถือคริสต์ศาสนาอีก ด้วย

mammon

แมมมอน ปีศาจแห่งความมั่งคังที่ไม่เป็นธรรม เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้

สัญลักษณ์ของโลภคือ กบ สีประจำบาปคือสีเหลือง บทลงโทษของผู้ที่โลภมากคือการถูกแช่ในน้ำมันเดือด

ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโลภ คือ ความเมตตา การแบ่งปัน


เกียจคร้าน (ภาษาลาติน : Acedia อาซีเดีย : ภาษาอังกฤษ : Sloth/Laziness)
ความ ไม่สนใจใยดีต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อสิ่งรอบข้าง ใช้เวลาอย่างไร้ค่า ความไม่ต้องการที่จะทำอะไร โดยปล่อยให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำงานหนักเพื่อตนเองเท่านั้น การปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเลยที่จะทำดีรวมถึงการละเลยที่จะเคารพต่อพระเจ้าด้วย ผู้ที่เกียจคร้านจะอยู่เฉย ๆ รักษาสภาพความเป็นอยู่ของตนเองในภาวะเดิมตลอดเวลา ไม่ทำอะไรมาก แต่ก็ไม่ใช้อะไรมากเช่นกัน

belphegor

เบลฟีเกอร์ ปีศาจผู้ไม่ยอมทำอะไรเพียงแต่บอกให้มนุษย์คอยทำสิ่งเหล่านั้นให้เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้

สัญลักษณ์ของเกียจคร้านคือแพะ สีประจำบาปคือสีคราม บทลงโทษของผู้เกียจคร้านคือการถูกโยนลงไปในบ่องูพิษ

ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดเกียจคร้าน คือ ความกระตือรือร้น ความทะเยอทะยาน



โทสะ (ภาษาลาติน : Ira ไอรา : ภาษาอังกฤษ : Wrath)
ความ โกรธเคืองและพยาบาทที่ขาดความเหมาะสม การทนรับสภาพในบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ การแสวงหาหนทางผิดกฎหมายบ้านเมือง ในศีลธรรมในการล้างแค้น การมุ่งร้ายที่จะทำสิ่งต่าง ๆ แก่บุคคลที่ตนไม่ชอบ รวมถึงการไม่ชอบบุคคลอื่นโดยไร้เหตุผล เช่น สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา นำไปสู่การฆ่าและฆาตกรรมผู้อื่น โมหะคือความโกรธที่ไม่ต้องการที่จะยกโทษ

satan

ซาตาน ปีศาจแห่งความมืดเป็นตัวแทนประจำบาปข้อนี้

สัญลักษณ์ของโมหะคือหมี สีประจำบาปคือสีแดง บทลงโทษของผู้ที่มีบาปโมหะคือ การถูกฉีกร่างทั้งเป็น (ซ้ำแล้วซ้ำเล่า)

ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโมหะ คือ ความนอบน้อม การให้อภัย


อิจฉา (ภาษาลาติน : Invidia อินวิเดีย : ภาษาอังกฤษ : envy)
ความ ปรารถนาให้ผู้อื่นรับเคราะห์ การไม่ยอมรับผู้อื่นที่มีสิ่งต่างๆ ดีกว่าตนเอง ทั้งด้านทรัพย์สมบัติ ลักษณะรูปร่างนิสัย และ การประสบความสำเร็จ ความอิจฉานำไปสู่การรังเกียจตัวเอง ต้องการอยากเป็นผู้อื่น นำไปสู่การขโมยและทำลายผู้อื่น ความอิจฉาเป็นการพัฒนาต่อจากตะกละและโลภที่สุดขั้ว

เลวีอาธาน ปีศาจอสรพิษทะเลแห่งนรก ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านพระเจ้าถือเป็นปีศาจประจำบาปนี้

สัญลักษณ์ของอิจฉาคือสุนัข สีประจำบาปคือสีเขียว บทลงโทษผู้ที่มีความอิจฉาคือถูกแช่แข็งในน้ำเย็นจัด

ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดอิจฉา คือ ความกรุณา ความเผื่อแผ่


โอหัง (ภาษาลาติน : Superbia ซูเปอร์เบีย : ภาษาอังกฤษ : Pride/Hubris)
ยะ โสเป็นยอดแห่งบาปทั้งปวง ความหยิ่งยะโสคือต้องการเป็นผู้ที่มีความสำคัญและอำนาจเหนือผู้อื่น การที่รักตนเองมากจนเกินไป หลงในอำนาจและรูปลักษณ์ของตัวเอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบตนเองเทียบเท่ากับพระเจ้า) ซึ่งบาปประการนี้ทำให้
ลูซีเฟอร์ (ปีศาจประจำบาปนี้) ถูก ขับไล่ออกจากสวรรค์ เนื่องจากลูซีเฟอร์เห็นว่าตนมีอำนาจเท่ากับพระเจ้าและสามารถสร้างพรรคพวกของ ตัวเองเพื่อต่อต้านและไม่เคารพพระเจ้า คนที่มีความหยิ่งยะโสจะสนใจเฉพาะตนเองเท่านั้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเป็นเช่นไร

locifer

ลูซิเฟอร์

สัญลักษณ์ของโอหังคือ ม้า สิงโตหรือนกยูง สีประจำบาปคือสีม่วง บทลงโทษของผู้ที่โอหังคือการถูกทรมานบนวงล้อ (มัดกับวงล้อแล้วให้วงล้อหมุนเรื่อย ๆ ผู้ถูกทรมานจะถูกบดขยี้กับพื้น)

ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโอหัง คือ ความถ่อมตน การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ที่่มา : http://board.art2bempire.com/index.php?topic=112978.0



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น