ประวัติศาสตร์คริสตจักรยุคต่างๆ
โดย ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
ยุคปฐมกาล
ตาม หลักความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนซึ่งมาจากพระคัมภีร์ใบเบิลและประวัติศาสตร์ ของอิสราเอล คริสต์ศาสนาเริ่มต้นตั้งแต่พระเป็นเจ้าทรงรักโลกจนกระทั่ง ประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์คือ พระเยซูคริสต์เข้ามาไถ่มนุษย์ออกจาก บาป คำว่า "เยซู" แปลว่า พระเป็นเจ้าทรงเป็นความรอด (Yahweh is salvation) หรือพระเป็นเจ้าทรงเป็นผู้ช่วยให้รอด (Yahweh is the savior)
พระ เป็นเจ้าผู้ทรงเป็นที่มาแห่งชีวิต คือ ทรงเป็นพระผู้สร้างจักรวาลและชีวิต ทั้งมวล มนุษย์คู่แรกที่พระองค์ทรงสร้าง ได้เกิดลูกหลานต่อๆมา และแพร่ออกไป ทั่วโลก ต่างก็ห่างเหินไปจากพระเป็นเจ้าและหลงลืมพระองค์
ชีวิตของมนุษย์คงมีความทุกข์ต่างๆเพราะความผิดที่มนุษย์ต่างกระทำขึ้น ด้วยความรักที่มีต่อมนุษย์ พระเป็นเจ้าจึงประทานพระบุตรมาเกิด (incarnation) เป็นพระเยซู พระ เป็นเจ้าจึงทรงเตรียมการเป็นขั้นตอนโดยทรงเลือกอับราฮัมชาวฮีบรูให้เป็นต้น ตระกูลของชนชาติอิสราเอลเพื่อเป็นผู้รับมอบพันธกิจนำพระพร คือความรอด ไปสู่ ชนทุกชาติทั่วโลก เมื่อถึงกำหนดที่ทรงวางไว้ พระบุตรเสด็จลงมาเกิดเป็นพระเยซูผู้สืบเชื้อสายของชนชาติอิสราเอลจากเชื้อสายอับราฮัมผ่านทางเดวิดจนมาถึงพระเยซู
ยุคพระเยซู
เมื่อ พระเยซูมีพระชนม์มายุได้ 30 ปี ทรงจาริกสั่งสอนในประเทศอิสราเอลเป็น เวลา 3 ปี ทรงเลือกชาวยิว 12 คน เป็นผู้รับพันธกิจจากพระองค์ เพื่อนำพระพร ไปสู่ชนทั่วโลก
พระเยซูทรงถูกตรึงและสิ้นพระชนม์ที่กางเขนเป็นการตาย เพื่อชดใช้หรือไถ่มนุษย์ออกจากบาป เพื่อไถ่มนุษย์ออกจากความบาปเพื่อมนุษย์ จะได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ
และกลับเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องตามพระฉายา ของพระเป็นเจ้าและจะกลับคืนดีและมีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องต้อพระเป็นเจ้า ใน วันที่ 3 พระเป็นเจ้าทรงทำให้พระเยซูกลับเป็นขึ้นมาจากความตาย หรือทรงกลับ คืนชีพหลังจากที่ปรากฏแก่เหล่าสาวกและทรงมอบพันธกิจแก่เหล่าสาวกแล้วเสด็จ สู่สวรรค์
คำภาษาอังกฤษ Resurrection ทางคาทอลิก ใช้คำว่า "การกลับคืนชีพ" ส่วนทางฝ่ายโปรแตสแตนท์ ใช้คำว่า "การเป็นขึ้นมาจากความตาย"
ยุคคริสตจักรเริ่มแรก
ใน วันเทศกาลเพนเทคอสต์ (the day of Pentecost) ซึ่งตรงกับวันที่ 50 หลังจาก พระเยซูทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย เวลา 09.00 น. พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระ เป็นเจ้าได้เสด็จลงมายังบรรดาศิษย์ของพระองค์ ทรง เปลี่ยนให้ทุกคนเป็นคนใหม่เปี่ยมด้วยความรู้ความเข้าใจเรื่องพันธกิจที่พระ เยซูทรงสละพระชนม์เพื่อเป็นพระพรแก่มนุษย์ ทุกคนจึงมีใจร้อนรนกล้าหาญที่จะ ประกาศข่าวประเสริฐที่พระเยซูทรงไถ่มนุษย์ด้วยการสละพระชนม์ชีพของพระองค์บน กางเขน ในวันนั้นมีผู้เชื่อและยอมรับพระเยซูเป็นผู้ไถ่เขาออกจากบาปถึง 3,000 คน คริสต์ศาสนิกชนจึงถือว่าวันนี้คือวันเกิดของคริสตจักร
แผน การไถ่มนุษย์จากบาป และปลดปล่อยให้เป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพ เพื่อจะสามารถ กลับคืนดีเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องและมีความสัมพันธ์อันถูกต้องกับพระเป็นเจ้า นั้น พระเยซูได้กระทำสำเร็จแล้ว การตายของพระเยซูเป็นการไถ่มนุษย์ออกจากบาป แล้ว จึงเหลืองานที่จะทำต่อไปคือการนำข่าวประเสริฐนี้ไปประกาศให้โลกรู้ พระ เยซูทรงสั่งให้สาวกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับที่พระเป็น เจ้าทรงเรียกอับราฮัมและชนชาติอิสราเอลให้เป็นผู้นำพระพรไปสู่ชนทุกชาติ
อัคร สาวกทั้ง 12 คน ได้ประกาศข่าวดีนี้ในกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งมีทั้งชาว เยรูซาเล็มเอง และชาวอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ และได้กลับมาประเทศ อิสราเอล เพื่อนมัสการในเทศกาลเพนเทคอสต์ หลังจากเทศกาลนั้นเมื่อคน เหล่านั้นเดินทางกลับประเทศที่ตนอยู่ก็ได้นำข่าวดีนั้นไปประกาศด้วย ส่วน อัครสาวกก็ไปประกาศในที่ต่างๆ เช่น
- ฟิลิปไปประกาศแก่ชาวเอธิโอเปีย
- โทมัสไปประกาศถึงประเทศอินเดีย ยาคอบไปประกาศที่สเปน
- เปโตรไปประกาศถึงกรุงโรม เปาโลและบารนาบัสไปประกาศที่เอเชียน้อย ประเทศกรีช และกรุงโรม
- อัครสาวกและสาวกคนอื่นๆ ก็ไปประกาศในที่ต่างๆ
ข่าวดี นี้จึงแพร่ไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว แต่การประกาศข่าวดีนี้ไม่ใช่เป็นการ ง่าย ในระยะ 3 คริสต์ศตวรรษแรกต้องประสบแต่การข่มเหง การขัดขวาง ผู้ที่ไป ประกาศและผู้ที่รับข่าวดีก็ต้องเผชิญกับความยากลำบากและถูกฆ่าตายไม่ น้อย แต่ข่าวดีนี้ก็มิได้หยุดยั้งชะงักลง มีแต่การแพร่ออกไปจน กระทั่ง ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนตินประกาศกฤษฏีกาที่เมืองมิลานให้ทุกคนมี เสรภาพในการนับถือคริสต์ศาสนาได้
ในตอนปลายของศตวรรษ ที่ 4 จักรพรรดิเทโอโดซิอุสมหาราช ค.ศ. 379-395 ทรงกระทำให้จักรวรรดิโรมัน เป็นจักรวรรดิของคริสต์ศาสนาในสมัยนี้ คริสตจักรจึงรุ่งเรือง การก่อสร้าง โบสถ์วิหารมีไปทั่วทุกแห่ง
สมัย นั้นคริสตจักรมีศูนย์กลางที่สำคัญ 5 แห่ง คือ เมืองอะเล็กซานเดรียใน อียิปต์ กรุงเยรูซาเล็ม เมืองแอนดิออก กรุงคอนสแตนติโนเปิล และกรุง โรม ศูนย์กลางแต่ละแห่งมีผู้อภิบาลเรียกว่า อัคร บิดร (papa หรือ partriarch)
ยุคมืด
คริสต์ ศตวรรษที่ 5-11 ตามประวัติศาสตร์คริสตจักร เรียกว่า ยุคมืด เริ่มจากประเทศ ต่างๆในยุโรปถูกรุกรานโดยที่ฝ่ายบ้านเมืองไม่สามารถต่อต้านได้ แต่ต่อมาฝ่าย คริสตจักรตะวันตกโดยการนำของสันตะปาปาลีโอที่ 1 ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็น อัครบิดรแห่งโรมด้วย สามารถควบคุมสถานการณ์ในกรุงโรมและบริเวณใกล้เคียง ได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีอำนาจของคริสตจักรโรมและมีอิทธิพลครอบคลุม ไปถึงแอฟริกาตอนเหนือ สเปน และกอล (ฝรั่งเศลและเยอรมนีในปัจจุบัน)
และ ต่อมาก็ยังมีอัครบิดรบางสมัยที่พยายามขยายอิทธิพลออกไปอีกด้วยการชักชวนให้ ผู้รุกรานตั้งหลักแหล่งและเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนโดยยินยอมให้อัครบิดรแห่ง โรมในฐานะสันตะปาปามีสิทธิแต่งตั้งกษัตริย์หรืออนุมัติการขึ้นครองราชย์ของ กษัตริย์ด้วย
คริสตจักรตะวันออกสูญเสียศาสนิกชนให้แก่อิสลาม ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ทำให้คริสต์ศาสนิกชนที่เหลือในแถบนี้กลายเป็น ชนกลุ่มน้อยไป แต่การประกาศข่าวดีในที่อื่นก็ยังดำเนินอยู่ต่อไป และมีคนจาก ประเทศอื่นๆ เช่นรัสเซีย เข้ามานับถือคริสตศาสนาในช่วงนี้ด้วย คริสตจักรซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันตั้งแต่แรกก็แยกออกเป็นคริสตจักรตะวันออกและคริสตจักรตะวันตก
ใน ค.ศ. 1054 เนื่อง ด้วยสาเหตุการเมืองและอื่นๆ อีกหลายประการ อันเป็นผลให้อัครบิดา ของ 2 ฝ่าย ไม่อาจออมชอมกันได้ คริสตจักรตะวันตกจึงกลายเป็นคริสตจักรโรมัน คาทอลิก
ซึ่งมีศูนย์กลางเริ่มแรกที่กรุงโรม และคริสตจักรตะวันออกได้ ชื่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ซึ่งมีศูนย์กลางเริ่มแรกที่จักรวรรดิไบแซนไท น์ (นครอิสตันบูลประเทศตุรกีในปัจจุบัน)
ยุคฟื้นฟู
ระหว่าง สงครามครูเสดปัญญาชนชาวคริสต์ได้เรียนรู้และได้รับเอกสารมากมายเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรมกรีกจากชาวมุสลิม การศึกษาอย่างเป็นระบบเริ่มในวังของจักรพร รดิ์ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) เป็นปฐม แล้วขยายออกไปสู่โบสถ์ต่างๆ ภาษาละติ นกลายเป็นภาษาสากลทางวิชาการและศาสนาใช้คัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลเป็นภาษาละติ นของเซนต์เยโรม (St. Jerome) เป็นมาตรฐาน จนได้ชื่อว่าคัมภีร์ฉบับ ประชาชน (Vulgate Bible) การเรียนหนังสือในสมัยนั้นจึงหมายถึงการเรียนภาษา ละตินและเรียนวิชาการต่างๆ ด้วยภาษาละตินนั่นเอง และวิชาการส่วนมากก็ได้ หลักการและพื้นฐานมาจากต้นฉบับภาษากรีกที่แปลเป็นภาษาละตินเช่นกัน
ยุคปฏิรูป
เมื่อ การศึกษาศิลปวิทยาการกรีกขยายวงกว้างออกไปมีการวิจัยค้นคว้าลึกซึ้งมาก ขึ้น และสร้างผลงานออกมาได้แนบเนียนมากขึ้นการปฏิรูปในด้านต่างๆ ก็ ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นและขยายตัวออกไปรวมทั้งการปฏิรูปทางศาสนาด้วย เนื่องจากมี ผู้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและแปลออกเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่ง เศล เยอรมัน นอกจากจะเป็นต้นกำเนิดของความรู้สึกชาตินิยมแล้วยังทำให้ผู้ ศึกษาคัมภีร์มีความรู้ความเข้าใจใหม่ การปฏิรูปนี้จึงมิได้เริ่มแห่งเดียว และมิใช่โดยผู้นำคนเดียว แต่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ เช่น
- จอห์น ไวคลิฟฟ์ (John Wycliffe) ชาวอังกฤษ ค.ศ. 1324-1384
- จอห์น ฮัลส์ (John Huss) ชาวเซ็ก ค.ศ.1369-1415
- มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) ชาวเยอรมัน ค.ศ. 1483-1546
- อุลริช ชวิงลี (Ulrich Zwingli) บางแห่งใช้ว่า Huldreich Zwingli ชาวสวิส ค.ศ. 1484-1531
- จอห์น คาลวิน (John Calvin) ชาวฝรั่งเศส ค.ศ. 1509-1564
เนื่อง จากองค์การบริหารของคริสตจักรของโรมันคาทอลิก ณ กรุงโรม ยึดติดกับความคิด ของตนอย่างเหนียวแน่น จนเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับสมาชิกบางกลุ่มในบาง ประเทศ
ที่เห็นความจำเป็นต้องปฏิรูปอย่างรีบด่วน คริสตจักรโป รแตสแตนท์จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1529 ส่วนภายในคริสตจักร คาทอลิกก็มีการปฏิรูปในหลายรูปแบบแต่ยังคงถือนโยบายเน้นเอกภาพในความเหมือน กันและการรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางต่อไป จนถึงการสังคายนาวาติกัน ครั้ง ที่ 2 ตั้งแต่นั้นมา คริสต์ศาสนาก็แบ่งเป็นนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และโปรแตสแตนท์
ต่าง ฝ่ายต่างพัฒนากิจการของตนอย่างอิสระและต่างก็มีสมาชิกแผ่กระจายออกไปใน ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ความสำนึกว่าคริสตจักรต้องเป็นหนึ่งเดียวมีปรากฏใน คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่หลายแห่งด้วยกัน และหลังจากนั้นก็ได้มีการ ประกาศย้ำเป็นทางการใน คริสตจักรหลายครั้งว่า คริสตจักรต้องเป็นหนึ่ง เดียว (one) และ สากล (catholic) อย่างเช่นประกาศหลักข้อเชื่อของอัคร สาวก (Apostles's Creed) และหลักข้อเชื่อไนซีน (Nicene Creed) ความเชื่อนี้ ปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นเมื่อโปรแตสแตนท์กลุ่มต่างๆ และออร์ทอดอกซ์รวมตัวกัน เป็นหน่วยงาน เรียกว่าคณะกรรมการกลางหลักความเชื่อและระบบการ ปกครอง (Commission on Faith and Order) เมื่อ ค.ศ. 1927 และต่อมามีการรวม ตัวเป็นสภาคริสตจักรแห่งโลก (World Council of Churches) เมื่อ ค.ศ. 1948
ส่วน คริสตจักรคาทอลิกได้จัดประชุมสังคายานาวาติกันครั้ง ที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1962-1965 โดยเชิญผู้แทนจากคริสตจักรโปรแตสแตนท์และ ออร์ทอดอกซ์เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ด้วยและได้เปลี่ยนนโยบายรวมศูนย์มา เป็นการเน้นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนที่สำคัญมากครั้ง หนึ่งในประวัติศาสตร์
ในที่สุดคาทอลิกส่งผู้แทนเข้าประชุม สภาคริสตจักรแห่งโลกเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993 ในปัจจุบันการ ติดต่อและร่วมมือระหว่างคริสตจักร กลุ่มต่างๆเกิดบ่อยขึ้นและกว้างขวางยิ่ง ขึ้น โดยถือหลักการร่วมกันว่า "ให้ร่วมมือกันโดยไม่ต้องเชื่อและถือเหมือน กัน" และให้เข้าใจว่าความเป็นหนึ่งเดียวของคริสตจักร หมายความถึง "เอกภาพใน ความหลากหลาย"
( แหล่งข้อมูล: พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ – ไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2542 หน้า 83 – 88 )
Bangkok Institute of Theology
Go To Thirayost's Homepage
(http://www.geocities.com/thirayost)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น